Wednesday, March 30, 2016

ประวัติเพลงชาติไทยในปัจจุบัน และความเป็นมาของเนื้อร้องเพลงชาติไทย

ประวัติเพลงชาติไทยในปัจจุบัน


การพิจารณาตัดสินเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน

ต่างกับปี 2476-77 การหาเพลงชาติไทยใหม่ครั้งนี้ ไม่มีการตั้งกรรมการไว้สำหรับดำเนินการหรือพิจารณาตั้งแต่ต้น (สำนักงานโฆษณาการเป็นผู้ดำเนินการรับผลงานเท่านั้น) และเป็นที่เข้าใจกันว่า การตัดสินจะเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี (ดูประกาศเรื่องการประกวดของสำนักงานโฆษณาการ) แน่นอนว่า ในทางปฏิบ้ติ ครม. ไม่สามารถพิจารณาผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมดได้ ดังนั้นในปลายเดือนพฤศจิกายน ที่ประชุม ครม. จึงมีมติให้ตั้งกรรมการคณะหนึ่ง "เพื่อพิจารณาคัดเลือกเนื้อร้องเพลงชาติไทย ที่ส่งเข้าประกวด แล้วเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีชี้ขาดอีกขั้นหนึ่ง" ประกอบด้วย พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เป็นประธาน พ.อ.หลวงเกรียงศักดิ์ พิชิต, พ.อ. หลวงพรหมโยธี, หลวงวิจิตรวาทการ และ วิลาศ โอสถานนท์ เป็นกรรมการ นายชุบ ศาลยาชีวิน เป็นเลขานุการ โดยความเป็นจริง คณะกรรมการชุดนี้เท่ากับเป็นผู้พิจารณาคัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้นเอง วันที่ 6 ธันวาคม คณะกรรมการก็ได้คัดเลือกเนื้อร้องเพลงชาติไทยจำนวนหนึ่งมาให้คณะรัฐมนตรี "ชี้ขาด" ดังนี้



๑๘. เรื่องการพิจารฌาเนื้อร้องเพลงชาติไทย

ปรึกษาเรื่องคณะกรรมการพิจารณาเนื้อร้องเพลงชาติไทยรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ปรึกษาลงมติให้พิจารณาคัดเลือกเนื้อร้องเพลงชาติไทย ซึ่งมีผู้ส่ง : เข้าประกวดรวม ๖๑๔ ราย แล้วให้เสนอผลการพิจารณาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่งบัดนี้ คณะกรรมการได้ประชุมปรึกษาเรื่องการคัดเลือกเนื้อร้องเพลงชาติไทยเสร็จแล้ว เห็นว่าส่วนมากแต่งได้ไม่ดีถึงขนาด และปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตามที่ทางราชการได้ประกาศให้ทราบไว้ คงคัดเลือกเนื้อร้องเพลงชาติไทย ซึ่งสมควรจะได้รับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีรวม ๘ บท จึงขอเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา

ที่ประชุมตกลงว่า เนื้อร้องของกองทัพบกเหมาะสมที่สุด และเมื่อได้แก้ไขเล็กน้อยเพื่อให้ดียิ่งขึ้น ทั้งเนื้อความและเนื้อร้องแล้ว ได้ลงมติเห็นชอบพร้อมกันให้ประกาศรัฐนิยมให้ใช้บทเพลงนั้นเป็นเนื้อร้องเพลงชาติ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๒ เป็นต้นไป คือ




ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย


ส่วนทำนองเพลงชาติไทยนั้น ให้คงใช้ทำนองเพลงของพระเจนดุริยางค์ต่อไป อนึ่งให้แสดงความขอบใจไปยังประธานกรรมการพิจารณาคัดเลือกเนื้อร้องเพลงชาติไทยด้วย ในการที่ได้ปฏิบ้ติการในเรื่องนี้ไปโดยเรียบร้อย



ที่มา : http://thailandanthem.com/

Friday, March 11, 2016

การเข้าสู่ทีมชาติไทย ชุดใหญ่การเริ่มต้นของ สมพร ยศ

การเข้าสู่ทีมชาติไทย ชุดใหญ่การเริ่มต้นของ สมพร ยศ


หลังแจ้งเกิดได้อย่างสวยหรูในการแข่งขัน Football ชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่ถึง 23  years  สมพร ยศ เตรียมตัวที่จะก้าวสู่ “ช้างศึก” ชุดใหญ่ครั้งแรก และนี่คือบทสัมภาษณ์เปิดใจของเขาภายหลังติดทีมชาติไทยทีแรกในชีวิต

ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ที่ประเทศ Qatar  เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แม้ว่าทีมชาติไทยจะต้องหยุดเส้นทางไว้เพียงแค่รอบแบ่งกลุ่ม แต่แน่นอนว่าแฟนบอลมากมายคงจำได้ดีว่านั่นคือทัวร์นาเมนต์เปิดตัวของ สมพร ยศ ผู้รักษาประตูชาวจังหวัดกำแพงเพชรอย่างสุดกำลัง

นายด่านจากสโมสร BEC เทโรศาสน โชว์ทักษะในการพิทักษ์ประตูได้แบบเหลือเชื่อพร้อมมีสถิติเซฟรวมกันทั้งหมด 15 ครั้ง แบ่งเป็นในเกมเสมอSaudi Arabia 1-1 (5 ครั้ง), แพ้ ญี่ปุ่น 0-4 (2 ครั้ง) และ เสมอ เกาหลีเหนือ 2-2 (8 ครั้ง) ซึ่ง stats อันฉกาจฉกรรจ์ในเกมนัดสุดท้ายนั้นยังทำให้เขากลายเป็นผู้รักษาประตูที่เซฟต่อนัดมากที่สุดในรายการการแข่งขันครั้งนั้น เหนือ ซาลิม อัล ฮาร์ช ผู้รักษาประตูทีมชาติเยเมน ที่ เซฟไป 7 ครั้งในเกมแพ้ทีมชาติอิรัก 0-2

แม้ว่า สมพร ยศ จะยังไม่อาจขึ้นมายึดมือหนึ่งในการเล่นให้ต้นสังกัดระดับสโมสรได้ แต่ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เฮดโค้ชทีมชาติไทยยังไว้ใจให้เขาเข้ามาเป็น 1 ใน 23 ผู้เล่นชุดเตรียมสู้ศึกฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง นัดสุดท้ายที่ทีมชาติไทยจะบุกไปเยือนพบทีมชาติอิรัก วันที่ 24 มีนาคมนี้ ที่สนาม ปาส เตหะราน อิหร่าน ร่วมกับสองนายทวารมือหนึ่งของประเทศไทยอย่าง กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ และ สินทวีชัย หทัยรัตนกุล

การมีชื่อโอกาสนี้ถือเป็นการติดทีมชาติไทยชุดใหญ่ทีแรกของเจ้าตัว และแม้ว่าจะยังเร็วเกินไปสำหรับ สมพร ยศ ที่จะก้าวขึ้นไปเป็นมือหนึ่งของทีมาติชุดใหญ่ แต่การติดทีมครั้งนี้จะเป็นฤกษ์ที่ดีสำหรับเจ้าตัวที่จะได้เก็บเกี่ยวความชำนาญเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประลองซีเกมส์ 2017 ที่ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ปรารถนาให้เขาเป็นมือหนึ่งของทีม

Tuesday, March 8, 2016

ประวัติเพลงชาติไทย ทั้ง 7 เวอร์ชั่น

ประวัติเพลงชาติไทย ทั้ง 7 เวอร์ชั่น

อันว่า เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ประกาศใช้ในยุคจอมพลป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์ทำนองแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามของ กองทัพบก ชนะการประกวดของ กรมโฆษณาการ ได้รับรางวัลมา 1,000 บาท สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” มาเป็น “ไทย” ในปีเดียวกันนั้น
ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลงGod Save the Queen เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่าควรจะใช้ ทำนองเพลงไทย คณะครูดนตรีไทยจึงเลือก เพลงทรงพระสุบิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ 2 นำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสากลขึ้นโดย เฮวุดเซน ถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 2 ใช้บรรเลงระหว่าง ปี 2414 – 2431 ไม่นานนัก
ส่วน เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดยนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ, เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
มาถึง เพลงชาติลำดับที่ 4 หลังการปฏิวัติของ คณะราษฎร เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้าง เพลงชาติ ขึ้นมา ใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม เพลงมหาชัย ไปพลางก่อน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป
ต่อมาก็เป็น เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 ก็มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ เนื้อร้อง โดยประพันธ์เพิ่มเติมจากของเดิมที่เห็นกันว่า สั้นไป ให้ ยาวขึ้น โดย ฉันท์ ขำวิไล จึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 6 ใช้ระหว่าง ปี 2477 – 2482 และถือเป็น เพลงชาติอย่างเป็นทางการเพลงแรก ก่อนจะมาเปลี่ยนแปลงเป็น เพลงชาติลำดับที่ 7 ที่ใช้มาจนถึง ปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนชื่อประเทศ ดังที่เคยกล่าวไว้
มีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจในช่วง ปี 2477 ขณะนั้นมีเพลงที่เสนอขึ้นมาเป็น เพลงชาติไทย เช่นกันอีกเพลงหนึ่งที่อาจจะเรียกว่า เพลงชาติลำดับที่ 6/1 ใช้ ทำนองเพลงไทย ประพันธ์ทำนองโดย จางวางทั่ว พาทยโกศล โดยดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิม เพลงตระนิมิตร ช่วงนั้นเรียกคู่ขนานกันว่า เพลงชาติแบบสากล, เพลงชาติแบบไทย แต่ในที่สุดคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาลงมติให้ใช้ เพลงชาติแบบสากล ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยงค์ (ปิติ วาทยะกร) ที่รับการขอร้องจาก นาวาตรีหลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ตั้งแต่ ปี 2474 แต่มาคิดออกเมื่อ ปี 2475 นั่น
จะเห็นได้ว่า เพลงชาติไทย เรานี้มีที่มาจาก แนวคิดตะวันตก หรืออาจพูดอีกอย่างว่า แนวคิดสากล ส่วน อุดมการณ์ของเพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบันก็คือ ชาติ ในยุคก่อกำเนิดของ รัฐชาติสมัยใหม่ ในมุมมองของ ทหาร และเป็นเพลงที่จงใจแยกออกมาจาก สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีอยู่
เนื้อร้องของเพลงชาติไทยที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ ปี 2482 แยกไม่ออกจากอุดมการณ์ ชาตินิยม หรืออาจพูดได้ว่า เชื้อชาตินิยม เพราะคำว่า ไทย ย่อมแคบกว่า สยาม และแน่นอนย่อมต้องมีอุดมการณ์ ประชาธิปไตย จุดกำเนิดที่ต้องการในทุกยุคทุกสมัยถ้าเรา ศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียด แล้วจะพบว่าคือ ความต้องการของผู้ปกครองประเทศที่หมายจะสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ทั้ง ผู้ประพันธ์ทำนอง และ ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง จะเข้าใจ ลึกซึ้ง ถึง วิญญาณ หรือเพียงแต่ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย นี่เป็นสิ่งที่ “เซี่ยงเส้าหลง” อ่านประวัติศาสตร์แล้ว มีข้อควรหารือ พอสมควร

Tuesday, March 1, 2016

ทำไมเราถึงต้องร้องเพลงชาติไทย อะไรคือเหตุผล ?

คุณเคยสงสัยบ้างไหม ว่าทำไมเราถึงต้องร้องเพลงชาติไทย วันนี้เรารวบรวมข้อมูลจากหลายๆ ที่มาให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าคนไทยหลายๆ คนที่ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร


ตอบโดย คุณไหมฟ้า
ร้องเพื่อความภูมิใจ ในเอกราช ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


  • ชาติเป็นชาติ ที่หล่อหลอมทางวัฒนธรรมมายาวนาน เป็นชาติที่ทำให้เกิดเชื้อชาติไทย แม้จะยื่นพาสปอร์ตที่ใดก็มีชาติป็นของตัวเอง มีภาษาพูดอ่าน เขียนที่ไม่ซ้ำใครป็นของตัวเอง แม้ว่าชาวไต ในสิบสองปันนาจะพูดคล้ายเรา แต่เขาไม่มีชาติเป็นของตนเอง มีบ้านให้กลับอยู่เสมอ

  • มีศาสนาที่สามารรักษาไว้ได้เป็นประจำชาติ ถึงพันปี มีศาสนาที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในประวัติศาสตร์ไม่เคยมีสงครามศาสนา แต่ไม่รู้ว่าตอนนี้เรียกว่ามีหรือยัง

  • มีพระมหากษัตริย์ ที่ทรงทศพิธราชธรรมปกครอง อย่างเมตตา นำพาปวงชนรอดพ้น วิกฤตการณ์มาตลอด และเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่รักของประชาชน จนทุกวันนี้


ร้องเพลงชาติ เพื่อระลึกถึงสีของธงชาติ ระลึกถึงว่าเมื่อฟังครั้งใดไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใดให้รู้ว่าเรามีชาติ มีประเทศชาติ มีเชื้อชาติที่เป็นความภาคภูมิใจ มีบรรพบุรุษที่เสียเลือดเนื้อ หยากเหงื่อ น้ำตา และแม้แต่ศักดิ์ศรี เพื่อให้เรายังมีชาติให้ต้องรักษา ไม่อย่างนั้นเชื้อชาติไทย ที่เกาะกงไม่บอกหรอกว่าเป็นเชื้อสายไทย แม้แต่หมู่บ้านโยเดียในพม่าก็เช่นเดียวกัน



ตอบโดย คุณ sao..เหลือ..noi
ไม่รู้ใคร  ล้อเลียนไว้  "8  นาฬิกา  ได้เวลาชักธง เราจะต้องยืนตรง  เคารพธงชาติไทย"
ไม่รู้ว่า  ประเพณี หรือวัฒนธรรมนี้  มันเป็นสากล แค่ไหน  ไปโรงพยาบาล  8  โมง
เสียงตามสาย โทรทัศน์ทุกช่อง  เปิดเพลงชาติ  มีรูปธงชาติหน้าจอ  ผู้คนกระวีกระวาด
ลุกขึ้นยืน  คนป่วย ก็ต้องกระย่องกระแย่ง ลุกขึ้นยืนกะเขาด้วย    มันเกินไปไหม  กับการ
สร้างวัฒนธรรม  ประเพณีนี้   อยากรู้ว่า  ประเทศอื่น  จะรักชาตินี่  ต้องทำแบบนี้หรือเปล่า



ตอบโดย BaaD
ในปัจจุบัน นอกจากการบรรเลงเพลงชาติ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ยังมีการแพร่ภาพวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเดิมแต่ละสถานีฯ จะเป็นผู้จัดทำวีดิทัศน์ประกอบขึ้นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำวีดิทัศน์กลางขึ้น เพื่อเผยแพร่โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทุกแห่ง ในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยเริ่มใช้วีดิทัศน์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป