Tuesday, March 1, 2016

ทำไมเราถึงต้องร้องเพลงชาติไทย อะไรคือเหตุผล ?

คุณเคยสงสัยบ้างไหม ว่าทำไมเราถึงต้องร้องเพลงชาติไทย วันนี้เรารวบรวมข้อมูลจากหลายๆ ที่มาให้ทุกคนได้อ่านกัน ว่าคนไทยหลายๆ คนที่ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร


ตอบโดย คุณไหมฟ้า
ร้องเพื่อความภูมิใจ ในเอกราช ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


  • ชาติเป็นชาติ ที่หล่อหลอมทางวัฒนธรรมมายาวนาน เป็นชาติที่ทำให้เกิดเชื้อชาติไทย แม้จะยื่นพาสปอร์ตที่ใดก็มีชาติป็นของตัวเอง มีภาษาพูดอ่าน เขียนที่ไม่ซ้ำใครป็นของตัวเอง แม้ว่าชาวไต ในสิบสองปันนาจะพูดคล้ายเรา แต่เขาไม่มีชาติเป็นของตนเอง มีบ้านให้กลับอยู่เสมอ

  • มีศาสนาที่สามารรักษาไว้ได้เป็นประจำชาติ ถึงพันปี มีศาสนาที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในประวัติศาสตร์ไม่เคยมีสงครามศาสนา แต่ไม่รู้ว่าตอนนี้เรียกว่ามีหรือยัง

  • มีพระมหากษัตริย์ ที่ทรงทศพิธราชธรรมปกครอง อย่างเมตตา นำพาปวงชนรอดพ้น วิกฤตการณ์มาตลอด และเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่รักของประชาชน จนทุกวันนี้


ร้องเพลงชาติ เพื่อระลึกถึงสีของธงชาติ ระลึกถึงว่าเมื่อฟังครั้งใดไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใดให้รู้ว่าเรามีชาติ มีประเทศชาติ มีเชื้อชาติที่เป็นความภาคภูมิใจ มีบรรพบุรุษที่เสียเลือดเนื้อ หยากเหงื่อ น้ำตา และแม้แต่ศักดิ์ศรี เพื่อให้เรายังมีชาติให้ต้องรักษา ไม่อย่างนั้นเชื้อชาติไทย ที่เกาะกงไม่บอกหรอกว่าเป็นเชื้อสายไทย แม้แต่หมู่บ้านโยเดียในพม่าก็เช่นเดียวกัน



ตอบโดย คุณ sao..เหลือ..noi
ไม่รู้ใคร  ล้อเลียนไว้  "8  นาฬิกา  ได้เวลาชักธง เราจะต้องยืนตรง  เคารพธงชาติไทย"
ไม่รู้ว่า  ประเพณี หรือวัฒนธรรมนี้  มันเป็นสากล แค่ไหน  ไปโรงพยาบาล  8  โมง
เสียงตามสาย โทรทัศน์ทุกช่อง  เปิดเพลงชาติ  มีรูปธงชาติหน้าจอ  ผู้คนกระวีกระวาด
ลุกขึ้นยืน  คนป่วย ก็ต้องกระย่องกระแย่ง ลุกขึ้นยืนกะเขาด้วย    มันเกินไปไหม  กับการ
สร้างวัฒนธรรม  ประเพณีนี้   อยากรู้ว่า  ประเทศอื่น  จะรักชาตินี่  ต้องทำแบบนี้หรือเปล่า



ตอบโดย BaaD
ในปัจจุบัน นอกจากการบรรเลงเพลงชาติ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ยังมีการแพร่ภาพวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเดิมแต่ละสถานีฯ จะเป็นผู้จัดทำวีดิทัศน์ประกอบขึ้นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำวีดิทัศน์กลางขึ้น เพื่อเผยแพร่โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทุกแห่ง ในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยเริ่มใช้วีดิทัศน์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

No comments:

Post a Comment